top of page

กิจกรรมรวมกลุ่มชมรม

กิจกรรมชมรมของสมาคมสายใยครอบครัว ประกอบด้วย 5 ชมรม
- ชมรมสองแสง
- ชมรมเพื่อนไบโพลาร์
- ชมรมเพื่อนรัก
- ชมรมสานสายใยผู้ดูแล
- Peer Support เพื่อนเสริมสร้างชีวิต


-ชมรมส่องแสง SHINING CLUB
มีการนัดพบในชมรมกันประมาณ 4 ครั้ง เพื่อมาทำกิจกรรมร่วมกัน ร่วมแบ่งปันทัศนคติ และร่วมแชร์ ปัญหาในการดูแลสุขภาพตนเองของสมาชิกชมรมซึ่งเป็น ผู้มีประสบการณ์ตรงกับโรคซึมเศร้า โดยมีผลการตอบรับจาก สมาชิกเป็นอย่างดี ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาทางด้านการรับรู้ เช่น การรู้จักตนเอง และความเจ็บป่วยของตนเอง รวมไปถึง สัญญาณการเจ็บป่วยอีกครั้ง เพื่อป้องกันการป่วยให้ทันท่วงที พร้อมทั้งมีเพื่อนร่วมทางที่เผชิญประสบการณ์คล้ายๆ กัน และมีการหนุนใจเพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจ ความหวัง และพลังเพื่อส่งต่อให้แก่กันและกันในการก้าวข้ามอุปสรรค ทำให้ สมาชิกได้รับความพึงพอใจอย่างมากในการเข้าร่วมกิจกรรมนี้ และได้บอกกล่าวให้แจ้งการนัดพบในชมรมครั้งต่อไปให้ ทราบด้วย
-ชมรมเพื่อนไบโพลาร์
ได้มีการนัดพบกัน 4 ครั้ง ที่สมาคมสายใยครอบครัว เป็นการรวมกลุ่มกันของเพื่อนร่วมทางที่มี ประสบการณ์ตรงกับโรคไบโพลาร์ ทั้งผู้ป่วย ผู้ดูแล และผู้สนใจ เพื่อมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกันและกัน หนุนใจกันเพื่อให้ เกิดความหวัง ดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขแม้มีอาการของโรคอยู่ โดยใช้แนวทางการคืนสู่สุขภาวะ (Recovery Model) นอกจากนี้เรายังมีการประชาสัมพันธ์ให้ชมรมเพื่อนไบโพลาร์เป็นที่รู้จัก และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคไบโพลาร์ให้สังคม เข้าใจเรามากขึ้น ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วย
-ชมรมเพื่อนรัก
เป็นการรวมกลุ่มของ ผู้มีประสบการณ์ตรงกับโรคจิตเภท ร่วมปฏิบัติกิจกรรม เพื่อฟื้นฟูสุขภาวะ พูดคุย แบ่งปันประสบการณ์ของตนเองให้เต็มตามศักยภาพ ตลอดจนปลูกฝังจิตสำนึกในการทำประโยชน์ต่อตนเองและสังคม มี การรวมตัวเพื่อจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้รับความร่วมมือจากสมาชิกชมรมเป็นอย่างดี การรวมตัวดังกล่าว เป็นการ เสริมสร้างให้สมาชิกตระหนักถึงคุณค่าในตัวเอง และ ไม่รู้สึกโดดเดี่ยวในการใช้ชีวิตในสังคม
-ชมรมสานสายใยผู้ดูแล
เป็นการรวมตัวกันของผู้ดูแล เพื่อทำกิจกรรมต่างๆ เปิดวง รับฟัง คุยกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับผู้ดูแลกับการ ดูแลผู้มีประสบการณ์ตรง รับมือกับวิกฤตต่างๆ และการดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจของตัวเอง เมื่อต้องรับมือกับความ ท้าทายที่มี ดังนั้นชมรมสานสายใยจึงเห็นความสำคัญในส่วนนี้ที่จะทำให้ผู้ดูแลมีกำลังใจที่จะสามารถต่อสู้ร่วมกันกับผู้ที่มี ประสบการณ์ตรงไปด้วยกันได้
-Peer support
Peer support หรือเพื่อนเสริมสร้างชีวิต หมายถึงเพื่อนผู้มีประสบการณ์ตรงกับโรคจิตเวช ผู้ผ่านการอบรมและการรับรอง จากกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณะสุข ทำหน้าที่เป็นเพื่อนหนุนใจ เป็นเพื่อนร่วมทางกันไปสู่เส้นทางสู่สุขภาวะกับ เพื่อนที่ยังคงอยู่ในเส้นทางสู่สุขภาวะ โดยรวมเพื่อนเสริมสร้างชีวิต หรือ Peer support ป้องกันภาวะวิกฤติที่ไม่จำเป็น ลด การเข้าเป็นผู้ป่วยใน ลดการป่วยซ้ำ สนับสนุนอัตลักษณ์ทั้งในภาวะวิกฤติ และเมื่อผ่านพ้นภาวะวิกฤติ

bottom of page